การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในบ้านเราเริ่มบรรเทาเบาบางลง หลายกิจการได้ออกมาค้าขายกันได้บ้างแล้ว...แต่กลุ่มผู้เพาะเลี้ยงปลากัดส่งออกต่างประเทศยังมีวิบากกรรม อเมริกา เยอรมนี ฝรั่งเศส ที่ไม่รู้จะเปิดประเทศเมื่อไร
“ตั้งแต่เริ่มมีการปิดประเทศ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลากัดมีปัญหาเป็นอย่างมาก ส่งออกไปต่างประเทศไม่ได้ เพราะสายการบินหยุดทำการ แต่มีข้อดีอยู่บ้าง ทำให้วงการปลากัดไทยมีโอกาสได้พัฒนาสายพันธุ์ปลาให้มีคุณภาพมากขึ้น”
ดร.สหภพ ดอกแก้ว หัวหน้าศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีปลาสวยงาม คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) บอกว่า การพัฒนาพันธุ์ปลากัดครั้งนี้ กลุ่มผู้เพาะเลี้ยงปลากัด หรือ Siamese fighting fish ทำขึ้นเพื่อหารายได้จากการขายปลากัดภายในประเทศ ชดเชยการส่งออกที่ช่วงนี้ทำไม่ได้เลย
“เพราะตลาดปลากัดในบ้านเรา การซื้อขายมีไม่มากเพราะส่วนใหญ่แล้วชาวบ้านจะเพาะกันเอง หรือไม่ก็ไปจับมาจากธรรมชาติ ในท้องทุ่งมีเยอะแยะไปหมด ไม่เหมือนตลาดต่างประเทศที่ซื้อปลากัดไปเลี้ยงเพราะความสวยงามเป็นหลัก ถ้าเราจะ เอาปลากัดสวยงามเหล่านี้มาขายในบ้านเราคงขายไม่ออก คนไทยคงไม่ซื้อ นอกจากราคาจะแพงต่างกันมากถึงเท่าตัว ปลากัดยังมีอายุสั้นเลี้ยงได้นานเกิน 1 ปี”
เพื่อให้เหมาะกับตลาดในประเทศ...ทางกลุ่ม Siamese fighting fish เลยหาวิธีพัฒนาพันธุ์ปลากัดที่สามารถดึงดูดลูกค้าคนไทยได้
นอกจากจะทำให้ปลากัดมีราคาในระดับที่คนไทยจับต้องได้แล้ว จะต้องมีความสวยงามที่แปลกและหลากหลายจนคนไทยยอมควักเงินซื้อ
“ความสวยงามของปลากัดที่ถูกตาต้องใจคนซื้อ จะอยู่ที่สีเป็นหลัก ในตัวเดียวต้องมีหลายเฉดสี และปลากัดสวยงามที่โดดเด่นที่สุดของวงการปลากัด ไม่มีอะไรเกินไปกว่า ปลากัดสีธงชาติไทย หรือ Thai Flag Betta จึงมีการนำเทคนิคการพัฒนาพันธุ์ปลากัดสีธงชาติมาเป็นต้นแบบในการปรับปรุงพันธุ์ พร้อมถ่ายทอดเทคนิคการผสมพันธุ์ให้กับกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงด้วยกัน เพื่อจะได้เพิ่มปริมาณปลากัดสวยงามให้มีในท้องตลาดมากขึ้น นอกจาก จะทำให้เกิดการแข่งขัน ปลากัดมีราคาถูกลง และยังทำให้มีความสวยงามที่หลากหลายมากขึ้นด้วย”
จากปลากัดสีไตรรงค์ แดงขาวน้ำเงิน และมีสีอื่นแต้มแต่งเติมประปราย มีการพัฒนาให้สีแดงขาวน้ำเงินชัดเจน และทรงหางที่ยาวอ่อนช้อยมากขึ้น มีทั้งปลากัดพันธุ์ที่เรียกกันว่า คราวน์เทลหางคล้ายมงกุฎ...ฮาล์ฟมูน หางครึ่งวงพระจันทร์... ฟูลมูน หางพระจันทร์เต็มดวง
ส่งผลให้การประกวดปลาสวยงามเวทีใหญ่ที่สุดในไทย เกษตรแฟร์ ที่เดิมทีจะมีการประกวดปลากัดแค่ 13 ประเภท...แต่ด้วยความสวยงามที่หลากหลายทำให้มีการประกวดเพิ่มขึ้นไปมากกว่า 23 ประเภท บางเวทีมีมากถึง 60 ประเภทเลยทีเดียว.
ไชยรัตน์ ส้มฉุน
อ่านเพิ่มเติม...
June 10, 2020 at 07:01AM
https://ift.tt/3dPHPb4
ปลากัดไทย...พลิกวิกฤติส่งออก พัฒนาสีสันดันขายบ้านเรา - ไทยรัฐ
https://ift.tt/2UMPY8X
Home To Blog
No comments:
Post a Comment